แมงกะพรุน
แมงกะพรุนทั่วโลกมีอยู่ 200 ชนิด
เป็นสัตว์มีโพรงในลำตัว ร่างกายประกอบไปด้วยน้ำส่วนใหญ่
ลักษณะคล้ายก้อนวุ้นเคลื่อนที่ได้ แต่การว่ายน้ำแบบเคลื่อนที่ของแมลงกระพรุนเป็นไปอย่างเชื่อช้าและว่ายไปตามกระแสน้ำสุดแต่คลื่นลมจะพาไป
แมงกะพรุนถูกจัดเป็นแพลงตอนชนิดหนึ่งและนับเป็นแพลงตอนขนาดใหญ่
บางตัวมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 40 เซนติเมตร
การที่แมงกะพรุนดำรงชีวิตเป็นแพลงตอนและล่องลอยไปตามคลื่นลมนี้เอง
ช่วงฤดูร้อนที่มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ภาคตะวันออกของอ่าวไทย
จึงมีแมงกะพรุนชุกชุมอยู่ตามชายทะเลแถบภาคตะวันออกดังนั้นการเล่นน้ำตามสถานตากอากาศแถบบางแสน
พัทยา ระยอง จึงอาจถูกแมงกะพรุนไฟได้ รูปร่างแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม
ทางด้านนอกของร่มเป็นรูปโค้งผิวเรียบ ด้านใต้มีปากอยู่ตรงกลางและมีส่วนยื่นรอบปากออกไป
แมงกะพรุนทุกชนิดมีพิษพบมากบริเวณหนวดและส่วนยื่นรอบปาก
เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยการสัมผัส เข็มพิษจะถูกปล่อยออกมาคล้ายฉมวกพุ่งแทงเข้าไปที่ผิวหนังของเหยื่อหรือศัตรู
น้ำพิษที่อยู่ภายในกระเปาะอาจทำให้เหยื่อขนาดเล็กสลบและตายได้
ตามปกติแมงกะพรุนเป็นสัตว์กินเนื้อ อาหารที่กินได้แก่
ปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กที่อาศัยตามผิวทะเลโดยแมงกะพรุนใช้เข็มพิษฆ่าเหยื่อ
และรวบจับใส่ปากเข้าไปย่อยภายในท่อทางเดินอาหาร ส่วนกากอาหารที่ย่อยไม่ได้จะถูกคายทางปาก แมงกะพรุนส่วนใหญ่มีเพศแยกกันเป็นตัวผู้และตัวเมีย แต่ต่างจากรูปร่างภายนอกไม่ปรากฏลักษณะที่แตกต่างกันชัดเจน การผสมพันธุ์เกิดโดยตัวผู้สร้างเสปิร์มส่งออกไปผสมกับไข่ตัวเมีย
หรืออาจเป็นการผสมกันภายนอกลำตัว ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเจริญพัฒนาเป็นตัวอ่อน
ดำรงชีวิตเป็นแพลงตอนชั่วคราว แล้วจากนั้นจะว่ายไปเกาะพื้นเปลี่ยนรูปร่างเป็นโพลิปสืบพันธ์แบบไม่อาศัยเพศด้วยการแบ่งตัวออกเป็นชั้นๆ
หลุดไปเป็นแมงกะพรุนตัวเล็กๆแล้วเติบโตเป็นตัวเต็มไว้ในเวลาต่อมา
(สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
ฟองน้ำทะเล (Marine sponges)
ฟองน้ำฟองน้ำเป็นสัตว์ทะเลประเภทหนึ่งมีเซลล์จัดเรียงตัวกันอย่างหลวมๆสองชั้น
รูปร่างมีความต่างกันมาก บางชนิดแผ่คลุมไปบนพื้นหินและซอกปะการัง
บางชนิดเป็นรูปเจกันคล้ายครก ขนาดของฟองน้ำมีความแตกต่างกัน บางชนิดเล็กประมาณ
1 เซนติเมตร จนถึงขนาดใหญ่กว่า 1 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่มีพื้นสภาพต่างกัน
ลำตัวของฟองน้ำนั้นมีรูฟุนขนาดเล็กจำนวนมาก
เป็นช่องให้น้ำไหลเข้าไปในโพรงลำตัวและบุไว้ด้วยกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่กินอาหารโดยใช้แส่จับ
ฟองน้ำมีลักษณะอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่นได้
ภายในลำตัวมีโครงค้ำจุนให้คงรูปร่างอยู่ได้ฟองน้ำอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนีเป็นผลแบบการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยวิธีการแตกหน่อ
แล้วหน่อยังคงติดอยู่กับตัวเดิม ทำให้มีสมาชิกหลายตัวอยู่ติดกันแผ่ขยายคลุมพื้นที่กว้างออกไปเรื่อยๆ
ฟองน้ำกินอาหารโดยอาศัยระบบท่อน้ำที่ไหลผ่านเข้าไปในโพรงลำตัวและมีเซลล์จับเหยื่อโดยใช้แส่
อาหารที่ปนมากับน้ำได้แก่ สาหร่าย
ไดอะตอม โปโตซัว แบคทีเรีย
ฟองน้ำเป็นสัตว์กลุ่มเดียวที่ไม่มีเซลล์ประสาท ไม่มีอวัยวะหรือโครงสร้างในการรับความรู้สึก การมองเห็น การรับรสกลิ่นเสียง ทั้งยังไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองใดๆต่อสิ่งกระตุ้นเลย เว้นแต่บริเวณช่องน้ำออกเท่านั้นที่นักชีววิทยาพบว่ามีการหดและขยายบ้างเล็กน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารและน้ำที่ไหลผ่านระบบท่อน้ำ
สัตว์ทะเลหลายชนิดอาศัยอยู่กับฟองน้ำ เช่น
กุ้ง ปู ไส้เดือนทะเล
ดาวเปราะ ปลิงทะเล และจะเก็บกินเศษอาหารที่ติดอยู่ตามผิวลำตัวของฟองน้ำ เพราะฟองน้ำมีเศษอินทรีย์และจุลินทรีติดอยู่ที่ผิวด้านนอก นอกจากนี้ปูบางชนิดยังชอบเก็บฟองน้ำไปแบกไว้บนหลังเพื่อใช้เป็นเกาะคุ้มกันทางด้านหลัง และเมื่อฟองน้ำเจริญต่อไป ก็อาจคลุมตัวปูจนมองไม่เห็นตัวปูจากทางด้านบน
ส่วนสัตว์ที่นิยมกินฟองน้ำเป็นอาหารก็คือทากทะเล
ซึ่งฟองน้ำนี้ส่วนมากแล้วไม่มีสัตว์ชนิดใดที่นิยมกินมันเพราะว่าฟองน้ำมีหนามหรือเส้นใยเยอะอีกทั้งยังทีรสชาติที่ไม่น่ากิน อายุของฟองน้ำแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป บางชนิดมีอายุพียงฤดูกาลเดียว
บางชนิดอยู่ได้หลายปี
ฟองน้ำส่วนใหญ่ส่วนใหญ่สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ นอกจากนี้ฟองน้ำยังสามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยฟองน้ำแต่ละตัวสร้างเซลล์สืบพันธ์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย อยู่ภายในตัวเดียวกันแต่เซลล์สืบพันธุ์ทั้งสองเพศ (สุรินทร์ มัจฉาชีพ2518)
ทากทะเล
ทากทะเลเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกหอยกาบเดียวมีรูปร่างลีสันที่แปลกตา
จึงได้รับสมญานามว่า ราชินีแห่งท้องทะเล
ทากทะเลอาศัยอยู่ตามแนวปะการังที่มีฟองน้ำหรือสาหร่ายทะเลชุกชุม
เพราะฟองน้ำเป็นอาหารที่ทากชอบกิน ทากชอบกินอาหารที่มีรสและกลิ่นที่ไม่ค่อยเหมือนสัตว์อื่น ทากทะเลสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศบางชนิดมีทั้งเพศเดียวกันในตัวเดียวกัน
บางชนิดแยกเพศ (สุรินทร์ มัจฉาชีพ2518)
4.
พะยูน
พะยูนหรือเงือกเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีลำตัวอ้วนกลมผิวเรียบสีเทาหือเทาดำ
หัวมนไม่มีใบหูปากกว้าง มีประสาทเกี่ยวกับการรับฟังได้ดี
ใต้ครีบหูมีเต้านมสองเต้า ครีบหางแบนขนานกับพื้น
อาหารหลักของพะยูนคือ หญ้าทะเลและสาหร่ายทะเล
ที่ขึ้นอยู่ริมชายฝั่งทะเลที่เป็นดินทรายปนโคลนออกหากินในเวลากลางวันและกลางคืน
ส่วนมากพะยูนจะอาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งที่มีหญ้าทะเล พะยูนออกลูกครั้งละ 1 ตัว พะยูนนั้นมีอยู่สองประเภทใหญ่ๆ คือดูกอง
เป็นพะยูนพันธุ์ที่พบในทะเลเขตร้อน และมานาที
พบแพร่กระจายอยู่บริเวณชายฝั่งและแม่น้ำของทวีปอัฟริกาตะวันตก 1
ชนิด และอีก 2 ชนิดพบทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ
อเมริกาใต้และทะเลคาริเบียน (สุรินทร์
มัจฉาชีพ,2518)
ม้าน้ำ
ม้าน้ำเป็นปลากระดูกแข็ง มีรูปร่างและพฤติกรรมการผสมพันธุ์ที่แปลกกว่าสัตว์ชนิดอื่น
ม้าน้ำตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะต่างกันคือ ตัวผู้มีถุงหน้าท้องไว้ฟักไข่จนกระทั่งกลายเป็นตัว ทำหน้าที่คลอดลูกแทนม้าน้ำตัวเมีย ม้าน้ำจะชอบอาศัยอยู่ตามเสาโป๊ะ
โพงพาง หรือหลาบอยู่ตามสาหร่ายทะเลที่ระดับน้ำไม่ลึกมาก
คอยจับสัตว์เล็กๆกินเป็นอาหาร (สุรินทร์
มัจฉาชีพ2518)
ฉลาม
ฉลาม
เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว
มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม
ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ฉลามแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ฉลามหน้าดินและฉลามกลางน้ำ ฉลามหน้าดินมักเป็นฉลามที่เชื่องช้า ชอบหากินอยู่ตามพื้นทะเล
ฉลามหน้าดินจะไม่ดุร้าย สัตว์ไม่กระดูกสั้นหลังเป็นอาหาร
และออกลูกเป็นไข่ ส่วนฉลามกลางน้ำเป็นฉลามที่ว่ายน้ำอยู่ตลอด
และมักดุร้าย ไล่ล่าปลาชนิดอื่นเป็นอาหาร และออกลูกเป็นตัว ฉลามเป็นปลาที่ว่องไวปราดเปรียว
บางชนิดว่ายน้ำได้เร็วมาก ฉลามมีอวัยวะรับความรู้สึกอยู่สามแห่งคือ
อวัยวะรับความรู้สึกทางกลิ่น อวัยวะรับสัมผัสทางการมองเห็น และสามคือการอาศัยเส้นข้างลำตัวทำหน้าที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับแรงสั้นสะเทือนของคลื่นใต้น้ำในระยะไกล
(สุรินทร์ มัจฉาชีพ2518)
ปูแต่งตัว
ปูแมลงมุมมีขาเดิน บอบบางและไม่แข็งแรง ต้องปรับตัวเพื่อการอยู่รอดด้วยการพรางตัวเลียนแบบธรรมชาติ
โดยนำเอาเศษวัสดุจากธรรมชาติมาติดไว้ตามลำตัวเพื่อเป็นกระดอง
ก้ามหรือขาเดิน จึงเรียกปูแมงมุมอีกชื่อหนึ่งว่าปูแต่งตัว
ปูแต่งตัวส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่มีสาหร่ายหรือแนวปะการังเป็นที่หลบซ่อน
(สุรินทร์ มัจฉาชีพ2518)
เต่าทะเล
เต่าทะเลเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่มานาน เต่าทะเลมีการปรับตัวหลายอย่างที่แตกต่างไปจากเต่าบนบก
เต่าทะเลไม่มีฟันซี่มีแต่ขากรรไกร ใช้ขบกัดสัตว์มีเปลือกให้แตกเพื่อกินเป็นอาหาร
(สุรินทร์ มัจฉาชีพ2518)
ปลานกแก้ว
ปลานกแก้วเป็นปลาที่มีลักษณะที่คล้ายกับนกแก้ว มีลำตัวที่สั้นและแบนทางด้านข้าง
หัวค่อนข้างใหญ่ ตาเล็ก ขากรรไกรบนของปากคล้ายนกแก้ว มักอาศัยอยู่ตามแนวปะการังหรือเกาะแก่งรอบๆเกาะต่างๆที่น้ำใส
มักอาศัยอยู่โดดเดี่ยวหรือรวมกันเป็นฝูงขนาดย่อม หาอาหารกินในเวลากลางวันส่วนในเวลากลางคืนจะหลบซ่อนตัวอยู่ตามซอกปะการัง
โดยปล่อยเมือกออกมาหุ้มลำตัวหรือปิดกั้นปากโพรงซอกหินเพื่อป้องกันตัว
โดยจะโผล่ส่วนหัวออกมาเพื่อหายใจเพียงเล็กน้อย (สุรินทร์
มัจฉาชีพ2518)
ปูเสฉวน
ปูเสฉวนเป็นสัตว์ที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างปูกับกุ้ง กระดองของปูเสฉวนนั้นจะมีความยาวมากกว่าความกว้าง
ก้ามสองข้างไม่เท่ากัน ปูเสฉวนจะอาศัยอยู่ในเปลือกหอยขนาดที่พอเหมาะกับลำตัวได้แค่ชั่วเวลาหนึ่งเพราะลำตัวมันเติบโตขึ้น
เมื่อตัวโตขึ้นก็ต้องเปลี่ยนเปลือกหอย
ต้องหาเปลือกหอยหรือที่อยู่ใหม่ ปูเสฉวนเป็นสัตว์กินเนื้อหรือเศษอินทรีย์ตามพื้นทะเลที่อาศัยอยู่
แต่มันก็อาจตกเป็นเหยื่อของผู้ล่ารายอื่นในทะเลได้เช่นกัน
(สุรินทร์ มัจฉาชีพ2518)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น