ความสำคัญของทะเลปัจจุบันนี้ทะเลมีความสำคัญกับมวลมนุษย์โลกเป็นอย่างมาก แม้มนุษย์ จะยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากทะเลได้อย่างเต็มที่ก็ตามแต่ก็พอจะสรุปประโยชน์ของทะเลได้ดังนี้
วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
คุณค่าของท้องทะเล
ความสำคัญของทะเลปัจจุบันนี้ทะเลมีความสำคัญกับมวลมนุษย์โลกเป็นอย่างมาก แม้มนุษย์ จะยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากทะเลได้อย่างเต็มที่ก็ตามแต่ก็พอจะสรุปประโยชน์ของทะเลได้ดังนี้
ระบบนิเวศทางทะเล
ระบบนิเวศทางทะเล (อังกฤษ: Marine ecosystem) เป็นระบบนิเวศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ของระบบนิเวศในแหล่งน้ำทุกชนิด ซึ่งรู้จักกันดีในพื้นที่ มหาสมุทร, กลุ่มดินเค็ม และ เขตน้ำขึ้น-น้ำลง, ปากแม่น้ำ และ ทะเลสาบน้ำเค็ม, ป่าโกงกาง และ แนวปะการัง, ทะเลน้ำลึก และ สัตว์ทะเลหน้าดิน สามารถเทียบได้กับแหล่งน้ำจืด ซึ่งมีปริมาณเกลือเข้มข้นกว่า ระบบนิเวศทางทะเล ครอบคลุมพื้นที่ 3 ใน 4 ส่วนของโลก ซึ่งถือได้ว่าสิ่งมีชีวิตที่เป็นพืชได้สนับสนุนกันและกันกับสัตว์ ในทางกลับกันเราอาจจะมองเห็นห่วงโซ่อาหารได้หลากหลายอย่าง
ระบบนิเวศทางทะเล
มีความสำคัญมากต่อสมดุลโดยรวมของนิเวศบนบก และในน้ำ, ตามที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรโลก
ได้ระบุว่า เพียงบริเวณชายฝั่งทะเลเพียงอย่างเดียว
มีปริมาณความหลากหลายทางชีวภาพสูงถึง 1 ใน 3 ส่วนของโลก (เช่น บึงเกลือ หญ้าทะเล ป่าชายเลน)
จัดอยู่ในประเภทผู้ผลิตที่มีปริมาณมากที่สุดในภูมิภาค, ในระบบนิเวศทางทะเลอื่นๆ
เช่น แนวปะการัง ก็ยังเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตอีกมากมาย
สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล
แมงกะพรุน
แมงกะพรุนทั่วโลกมีอยู่ 200 ชนิด
เป็นสัตว์มีโพรงในลำตัว ร่างกายประกอบไปด้วยน้ำส่วนใหญ่
ลักษณะคล้ายก้อนวุ้นเคลื่อนที่ได้ แต่การว่ายน้ำแบบเคลื่อนที่ของแมลงกระพรุนเป็นไปอย่างเชื่อช้าและว่ายไปตามกระแสน้ำสุดแต่คลื่นลมจะพาไป
แมงกะพรุนถูกจัดเป็นแพลงตอนชนิดหนึ่งและนับเป็นแพลงตอนขนาดใหญ่
บางตัวมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 40 เซนติเมตร
การที่แมงกะพรุนดำรงชีวิตเป็นแพลงตอนและล่องลอยไปตามคลื่นลมนี้เอง
ช่วงฤดูร้อนที่มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ภาคตะวันออกของอ่าวไทย
จึงมีแมงกะพรุนชุกชุมอยู่ตามชายทะเลแถบภาคตะวันออกดังนั้นการเล่นน้ำตามสถานตากอากาศแถบบางแสน
พัทยา ระยอง จึงอาจถูกแมงกะพรุนไฟได้ รูปร่างแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม
ทางด้านนอกของร่มเป็นรูปโค้งผิวเรียบ ด้านใต้มีปากอยู่ตรงกลางและมีส่วนยื่นรอบปากออกไป
แมงกะพรุนทุกชนิดมีพิษพบมากบริเวณหนวดและส่วนยื่นรอบปาก
เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยการสัมผัส เข็มพิษจะถูกปล่อยออกมาคล้ายฉมวกพุ่งแทงเข้าไปที่ผิวหนังของเหยื่อหรือศัตรู
น้ำพิษที่อยู่ภายในกระเปาะอาจทำให้เหยื่อขนาดเล็กสลบและตายได้
ตามปกติแมงกะพรุนเป็นสัตว์กินเนื้อ อาหารที่กินได้แก่
ปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กที่อาศัยตามผิวทะเลโดยแมงกะพรุนใช้เข็มพิษฆ่าเหยื่อ
และรวบจับใส่ปากเข้าไปย่อยภายในท่อทางเดินอาหาร ส่วนกากอาหารที่ย่อยไม่ได้จะถูกคายทางปาก แมงกะพรุนส่วนใหญ่มีเพศแยกกันเป็นตัวผู้และตัวเมีย แต่ต่างจากรูปร่างภายนอกไม่ปรากฏลักษณะที่แตกต่างกันชัดเจน การผสมพันธุ์เกิดโดยตัวผู้สร้างเสปิร์มส่งออกไปผสมกับไข่ตัวเมีย
หรืออาจเป็นการผสมกันภายนอกลำตัว ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเจริญพัฒนาเป็นตัวอ่อน
ดำรงชีวิตเป็นแพลงตอนชั่วคราว แล้วจากนั้นจะว่ายไปเกาะพื้นเปลี่ยนรูปร่างเป็นโพลิปสืบพันธ์แบบไม่อาศัยเพศด้วยการแบ่งตัวออกเป็นชั้นๆ
หลุดไปเป็นแมงกะพรุนตัวเล็กๆแล้วเติบโตเป็นตัวเต็มไว้ในเวลาต่อมา
(สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
ฟองน้ำทะเล (Marine sponges)
ฟองน้ำฟองน้ำเป็นสัตว์ทะเลประเภทหนึ่งมีเซลล์จัดเรียงตัวกันอย่างหลวมๆสองชั้น
รูปร่างมีความต่างกันมาก บางชนิดแผ่คลุมไปบนพื้นหินและซอกปะการัง
บางชนิดเป็นรูปเจกันคล้ายครก ขนาดของฟองน้ำมีความแตกต่างกัน บางชนิดเล็กประมาณ
1 เซนติเมตร จนถึงขนาดใหญ่กว่า 1 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่มีพื้นสภาพต่างกัน
ลำตัวของฟองน้ำนั้นมีรูฟุนขนาดเล็กจำนวนมาก
เป็นช่องให้น้ำไหลเข้าไปในโพรงลำตัวและบุไว้ด้วยกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่กินอาหารโดยใช้แส่จับ
ฟองน้ำมีลักษณะอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่นได้
ภายในลำตัวมีโครงค้ำจุนให้คงรูปร่างอยู่ได้ฟองน้ำอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนีเป็นผลแบบการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยวิธีการแตกหน่อ
แล้วหน่อยังคงติดอยู่กับตัวเดิม ทำให้มีสมาชิกหลายตัวอยู่ติดกันแผ่ขยายคลุมพื้นที่กว้างออกไปเรื่อยๆ
ฟองน้ำกินอาหารโดยอาศัยระบบท่อน้ำที่ไหลผ่านเข้าไปในโพรงลำตัวและมีเซลล์จับเหยื่อโดยใช้แส่
อาหารที่ปนมากับน้ำได้แก่ สาหร่าย
ไดอะตอม โปโตซัว แบคทีเรีย
ฟองน้ำเป็นสัตว์กลุ่มเดียวที่ไม่มีเซลล์ประสาท ไม่มีอวัยวะหรือโครงสร้างในการรับความรู้สึก การมองเห็น การรับรสกลิ่นเสียง ทั้งยังไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองใดๆต่อสิ่งกระตุ้นเลย เว้นแต่บริเวณช่องน้ำออกเท่านั้นที่นักชีววิทยาพบว่ามีการหดและขยายบ้างเล็กน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารและน้ำที่ไหลผ่านระบบท่อน้ำ
สัตว์ทะเลหลายชนิดอาศัยอยู่กับฟองน้ำ เช่น
กุ้ง ปู ไส้เดือนทะเล
ดาวเปราะ ปลิงทะเล และจะเก็บกินเศษอาหารที่ติดอยู่ตามผิวลำตัวของฟองน้ำ เพราะฟองน้ำมีเศษอินทรีย์และจุลินทรีติดอยู่ที่ผิวด้านนอก นอกจากนี้ปูบางชนิดยังชอบเก็บฟองน้ำไปแบกไว้บนหลังเพื่อใช้เป็นเกาะคุ้มกันทางด้านหลัง และเมื่อฟองน้ำเจริญต่อไป ก็อาจคลุมตัวปูจนมองไม่เห็นตัวปูจากทางด้านบน
ส่วนสัตว์ที่นิยมกินฟองน้ำเป็นอาหารก็คือทากทะเล
ซึ่งฟองน้ำนี้ส่วนมากแล้วไม่มีสัตว์ชนิดใดที่นิยมกินมันเพราะว่าฟองน้ำมีหนามหรือเส้นใยเยอะอีกทั้งยังทีรสชาติที่ไม่น่ากิน อายุของฟองน้ำแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป บางชนิดมีอายุพียงฤดูกาลเดียว
บางชนิดอยู่ได้หลายปี
ฟองน้ำส่วนใหญ่ส่วนใหญ่สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ นอกจากนี้ฟองน้ำยังสามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยฟองน้ำแต่ละตัวสร้างเซลล์สืบพันธ์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย อยู่ภายในตัวเดียวกันแต่เซลล์สืบพันธุ์ทั้งสองเพศ (สุรินทร์ มัจฉาชีพ2518)
ทากทะเล
ทากทะเลเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกหอยกาบเดียวมีรูปร่างลีสันที่แปลกตา
จึงได้รับสมญานามว่า ราชินีแห่งท้องทะเล
ทากทะเลอาศัยอยู่ตามแนวปะการังที่มีฟองน้ำหรือสาหร่ายทะเลชุกชุม
เพราะฟองน้ำเป็นอาหารที่ทากชอบกิน ทากชอบกินอาหารที่มีรสและกลิ่นที่ไม่ค่อยเหมือนสัตว์อื่น ทากทะเลสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศบางชนิดมีทั้งเพศเดียวกันในตัวเดียวกัน
บางชนิดแยกเพศ (สุรินทร์ มัจฉาชีพ2518)
4.
พะยูน
พะยูนหรือเงือกเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีลำตัวอ้วนกลมผิวเรียบสีเทาหือเทาดำ
หัวมนไม่มีใบหูปากกว้าง มีประสาทเกี่ยวกับการรับฟังได้ดี
ใต้ครีบหูมีเต้านมสองเต้า ครีบหางแบนขนานกับพื้น
อาหารหลักของพะยูนคือ หญ้าทะเลและสาหร่ายทะเล
ที่ขึ้นอยู่ริมชายฝั่งทะเลที่เป็นดินทรายปนโคลนออกหากินในเวลากลางวันและกลางคืน
ส่วนมากพะยูนจะอาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งที่มีหญ้าทะเล พะยูนออกลูกครั้งละ 1 ตัว พะยูนนั้นมีอยู่สองประเภทใหญ่ๆ คือดูกอง
เป็นพะยูนพันธุ์ที่พบในทะเลเขตร้อน และมานาที
พบแพร่กระจายอยู่บริเวณชายฝั่งและแม่น้ำของทวีปอัฟริกาตะวันตก 1
ชนิด และอีก 2 ชนิดพบทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ
อเมริกาใต้และทะเลคาริเบียน (สุรินทร์
มัจฉาชีพ,2518)
ม้าน้ำ
ม้าน้ำเป็นปลากระดูกแข็ง มีรูปร่างและพฤติกรรมการผสมพันธุ์ที่แปลกกว่าสัตว์ชนิดอื่น
ม้าน้ำตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะต่างกันคือ ตัวผู้มีถุงหน้าท้องไว้ฟักไข่จนกระทั่งกลายเป็นตัว ทำหน้าที่คลอดลูกแทนม้าน้ำตัวเมีย ม้าน้ำจะชอบอาศัยอยู่ตามเสาโป๊ะ
โพงพาง หรือหลาบอยู่ตามสาหร่ายทะเลที่ระดับน้ำไม่ลึกมาก
คอยจับสัตว์เล็กๆกินเป็นอาหาร (สุรินทร์
มัจฉาชีพ2518)
ฉลาม
ฉลาม
เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว
มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม
ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ฉลามแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ฉลามหน้าดินและฉลามกลางน้ำ ฉลามหน้าดินมักเป็นฉลามที่เชื่องช้า ชอบหากินอยู่ตามพื้นทะเล
ฉลามหน้าดินจะไม่ดุร้าย สัตว์ไม่กระดูกสั้นหลังเป็นอาหาร
และออกลูกเป็นไข่ ส่วนฉลามกลางน้ำเป็นฉลามที่ว่ายน้ำอยู่ตลอด
และมักดุร้าย ไล่ล่าปลาชนิดอื่นเป็นอาหาร และออกลูกเป็นตัว ฉลามเป็นปลาที่ว่องไวปราดเปรียว
บางชนิดว่ายน้ำได้เร็วมาก ฉลามมีอวัยวะรับความรู้สึกอยู่สามแห่งคือ
อวัยวะรับความรู้สึกทางกลิ่น อวัยวะรับสัมผัสทางการมองเห็น และสามคือการอาศัยเส้นข้างลำตัวทำหน้าที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับแรงสั้นสะเทือนของคลื่นใต้น้ำในระยะไกล
(สุรินทร์ มัจฉาชีพ2518)
ปูแต่งตัว
ปูแมลงมุมมีขาเดิน บอบบางและไม่แข็งแรง ต้องปรับตัวเพื่อการอยู่รอดด้วยการพรางตัวเลียนแบบธรรมชาติ
โดยนำเอาเศษวัสดุจากธรรมชาติมาติดไว้ตามลำตัวเพื่อเป็นกระดอง
ก้ามหรือขาเดิน จึงเรียกปูแมงมุมอีกชื่อหนึ่งว่าปูแต่งตัว
ปูแต่งตัวส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่มีสาหร่ายหรือแนวปะการังเป็นที่หลบซ่อน
(สุรินทร์ มัจฉาชีพ2518)
เต่าทะเล
เต่าทะเลเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่มานาน เต่าทะเลมีการปรับตัวหลายอย่างที่แตกต่างไปจากเต่าบนบก
เต่าทะเลไม่มีฟันซี่มีแต่ขากรรไกร ใช้ขบกัดสัตว์มีเปลือกให้แตกเพื่อกินเป็นอาหาร
(สุรินทร์ มัจฉาชีพ2518)
ปลานกแก้ว
ปลานกแก้วเป็นปลาที่มีลักษณะที่คล้ายกับนกแก้ว มีลำตัวที่สั้นและแบนทางด้านข้าง
หัวค่อนข้างใหญ่ ตาเล็ก ขากรรไกรบนของปากคล้ายนกแก้ว มักอาศัยอยู่ตามแนวปะการังหรือเกาะแก่งรอบๆเกาะต่างๆที่น้ำใส
มักอาศัยอยู่โดดเดี่ยวหรือรวมกันเป็นฝูงขนาดย่อม หาอาหารกินในเวลากลางวันส่วนในเวลากลางคืนจะหลบซ่อนตัวอยู่ตามซอกปะการัง
โดยปล่อยเมือกออกมาหุ้มลำตัวหรือปิดกั้นปากโพรงซอกหินเพื่อป้องกันตัว
โดยจะโผล่ส่วนหัวออกมาเพื่อหายใจเพียงเล็กน้อย (สุรินทร์
มัจฉาชีพ2518)
ปูเสฉวน
ปูเสฉวนเป็นสัตว์ที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างปูกับกุ้ง กระดองของปูเสฉวนนั้นจะมีความยาวมากกว่าความกว้าง
ก้ามสองข้างไม่เท่ากัน ปูเสฉวนจะอาศัยอยู่ในเปลือกหอยขนาดที่พอเหมาะกับลำตัวได้แค่ชั่วเวลาหนึ่งเพราะลำตัวมันเติบโตขึ้น
เมื่อตัวโตขึ้นก็ต้องเปลี่ยนเปลือกหอย
ต้องหาเปลือกหอยหรือที่อยู่ใหม่ ปูเสฉวนเป็นสัตว์กินเนื้อหรือเศษอินทรีย์ตามพื้นทะเลที่อาศัยอยู่
แต่มันก็อาจตกเป็นเหยื่อของผู้ล่ารายอื่นในทะเลได้เช่นกัน
(สุรินทร์ มัจฉาชีพ2518)
ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล
สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล
สามารถแบ่งแหล่งที่อยู่ได้เป็น 7 หัวข้อใหญ่ ได้แก่
1. สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง
ตามปกติแล้วระดับน้ำของทะเลจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นประจำทุกวัน คือ วันละ
ครั้งหรือสองครั้ง เนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ โดยเราทราบได้จากการสังเกตในเวลาที่มี
น้ำขึ้น-น้ำลง ตามชายฝั่งหรือตามเกาะต่างๆ โดยทั่วๆ ไปบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลง
จะมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิดอาศัยอยู่มากมาย ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลง
และสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
บริเวณชายฝั่งทะเลที่เป็นบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลงนั้น จะมีลักษณะแตกต่างกันไป
ซึ่งเราสังเกตเห็นได้อย่างเด่นชัด เช่น หาดทราย หาดหิน และหาดโคลน เป็นต้น
ตามธรรมชาติตามแอ่งน้ำขึ้น-น้ำลงเช่นนี้จะพบ กุ้ง ลูกปลาบางชนิด หอยนางรม ปูเสฉวน
เม่นทะเล ดอกไม้ทะเล ดาวทะเล ฯลฯ
2. ปลาในแนวปะการัง
บริเวณแนวปะการังนับเป็นแหล่งที่มีความ อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของทะเล เพราะสัตว์ทะเลหลาย
ชนิดอาศัยบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่หลบ ซ่อนภัยและเป็นแหล่งอาหาร
นอกจากนี้แล้ว ยังใช้เป็นที่สำหรับผสมพันธุ์ วางไข่ และเจริญเติบ
โตของสัตว์ตัวอ่อนอีกด้วย สำหรับปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ส่วนใหญ่
จะเป็นปลาที่มีขนาดและมีสีสันสวย งาม เช่น ปลาสลิด ปลาการ์ตูน ปลาเขียวพระอินทร์
ปลาผีเสื้อ และปลาโนรี เป็นต้น
3. การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตในทะเลเหมือนกับสิ่งมีชีวิตบนบกคือ มีการอยู่ร่วมกัน และพึ่งพาอาศัยกัน
ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การอยู่ร่วมกันแบบที่ เรียกว่า “ซิมไบโอซิส” (Symbiosis) ซึ่งหมายถึงการที่สิ่งมีชีวิตสองชนิดอาศัยอยู่รวมกัน หรืออยู่ ปนกันโดยต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ซึ่ง
กันและกัน เช่น ปลาการ์ตูน หรือ ปลาอินเดียแดงสามารถอยู่ร่วมกับ ดอกไม้ทะเล (sea
anemone) ได้ โดยที่ปลา เหล่านี้จะอาศัยดอกไม้ทะเลเป็นที่หลบ
ภัยและสืบพันธุ์ ส่วนดอกไม้ทะเลจะได้รับ ประโยชน์จากปลาโดยการล่อเหยื่อหรือชัก
นำเหยื่อให้เข้ามาใกล้พอที่ดอกไม้ทะเล จะจับเป็นอาหารได้
ดอกไม้ทะเลมีหนวดอยู่เป็นจำนวนมากและ ที่บริเวณปลายหนวดของมันจะมีเข็มพิษหรือ
ที่เรียกว่า “ นีมาโตซีส ” (Nematocyst) อยู่เป็นจำนวน มาก นอกจากเข็มพิษนี้แล้ว บริเวณหนวดของดอกไม้ ทะเลอาจ
มีเมือกเหนียว ๆ อยู่ด้วย เวลาที่ปลาว่ายเข้า มาใกล้ตัวมันจะใช้หนวดพันปลาไว้ แล้ว
จะปล่อยเข็มพิษ ทำให้ปลาสลบหรือช็อคตายแล้ว
กินปลานั้นเป็นอาหารสำหรับเข็มพิษของดอกไม้ทะเลเหล่านี้ไม่ เป็นอันตรายต่อปลาการ์ตูน
ปลาอินเดียแดงหรือปลาที่อยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเลเหล่านี้ เพราะปลาดัง
กล่าวมีสารเคมีที่มีลักษณะเป็นเมือกหุ้ม ตัวอยู่โดยรอบ
ซึ่งเป็นลักษณะที่ธรรมชาติสรรค์ สร้างให้มันอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยทั่ว ๆ ไปดอกไม้
ทะเลอาจไม่มีพิษกับคน ยกเว้นในกรณีของ บางคนอาจมีอาการแพ้เกิดขึ้นถ้าไป สัมผัสเข้า
โดยจะเกิดผื่นแดง และมีอาการคันหรือ บวมได้
4. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็มเป็นสัตว์โครงร่างแข็งที่ไม่ใช่กระดูกอยู่ภายในลำตัว
และ บางชนิดมีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก เพื่อป้องกัน อันตราย
และใช้ยึดของกล้ามเนื้อ เช่น หอย หมึก กุ้ง หนอนทะเล และ ฟองน้ำ ว่าเป็น สัตว์กลุ่มใหญ่ในทะเลและมหาสมุทร
สัตว์จำพวกนี้ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปทั้งขนาด รูปร่าง ที่ อยู่อาศัยและอุปนิสัยในการกินอาหารบางชนิดมีอันตรายแต่หลายชนิดก็มีประโยชน์และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
สัตว์เหล่านี้ได้แก่ สัตว์ในไฟลั่มโพริเฟอร์รา(Phylum Porifera) ไฟลั่มซีเลนเท
อราต้า (Phylum Coelenterata) ไฟลั่มมอลลัสกา (Phylum
Mollusca) ไฟลั่มอาร์โทรโปดา (Phylum Arthropoda) และ ไฟลั่มเอคไคโนเดิร์มมาต้า (Phylum Echinodermata) เป็นต้น
5. ปลาเศรษฐกิจ
ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนเป็นบริเวณที่ค่อนข้างมีปลาชุกชุม และปลาหลายชนิดเป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
เกี่ยวกับประเภทของปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
- · พวกที่นำมาเป็นอาหาร ส่วนมากเป็นปลาที่พบเห็นโดยทั่วไป และชาวประมงจับขึ้นมาเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากปลาเศรษฐกิจที่นำมาเป็นอาหารนั้นมีจำนวนมาก ฉะนั้นเราจึงขอแนะนำให้รู้จักเพียงบางชนิด เช่น ปลากะรัง หรือที่เรียกกันว่า “ปลาเก๋า” นอกจากนี้ก็มีปลากะพง ชนิดต่าง ๆ ปลาอีคุด ปลาสีขน ปลาสร้อยนกเขา และ ปลาหูช้าง เป็นต้น
- · พวกที่นำมาเลี้ยงเพื่อความสวยงาม ส่วนมากเป็นที่อาศัยอยู่ในบริเวณปะการัง ได้แก่ ปลาสลิดทะเล ปลานกแก้ว ปลานกขุนทอง ปลาสินสมุทร ปลาผีเสื้อ ปลาข้าวเม่าน้ำลึก ปลาเหล่านี้นอกจากจะนำมาเป็นอาหารได้แล้ว ปัจจุบันยังนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามด้วย ทำให้มีราคาค่อนข้างแพง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ฉะนั้นเราจึงจัดปลาสวยงามเหล่านี้ไว้ในกลุ่มปลาเศรษฐกิจด้วย ปลาในกลุ่มนี้มีลักษณะหลายแบบแตกต่างกันออกไป บางชนิดมีลวดลายและสีสันที่เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและเพื่ออำพรางศัตรู เช่น ปลาผีเสื้อปากยาว เป็นต้น จะสังเกตเห็นว่าครีบหลังมีจุดดำขนาดใหญ่ ซึ่งนักมีนวิทยาสันนิษฐานว่าจุดดำขนาดใหญ่ที่อยู่ตรงครีบหลังของปลาผีเสื้อปากยาวนั้นมีลักษณะดูคล้ายกับตาของปลาที่มีขนาดใหญ่จึงทำให้ปลาอื่น ๆ ไม่กล้าเข้ามาทำอันตราย นอกจากนี้แล้วม้าน้ำซึ่งเป็นปลาที่มีรูปร่างแปลกจัดเป็นปลาเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งด้วย เพราะนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาตู้และยังส่งเป็นสินค้าออกในรูปของการตากแห้ง เพราะว่าม้าน้ำนี้ใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของยาจีน
6. ปลารูปร่างแปลกและปลามีพิษ
ปลาบางชนิดมีรูปร่างแปลก โดยมีรูปร่างหรือสีกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม
เพื่อหลบหลีกศัตรูหรือพรางตาเหยื่อ ปลาบางจำพวกนอกจากมีรูปร่างแปลกแล้ว
ยังมีสีสันสวยงามและมีพิษด้วย ปลาประเภทนี้มีประมาณ 500 ชนิด
รวมถึงปลาบางชนิดที่รับประทานแล้วเป็นพิษต่อมนุษย์ โดยทั่วไปปลาทะเลต่าง ๆ
นั้นมีรูปร่างผิดแปลกแตกต่างกันไปตามอุปนิสัยการกินอาหารการหลบซ่อนตัว
หรือการอยู่อาศัย บางชนิดมีรูปร่างแบนลง เพื่อให้เหมาะสมกับการหากินบริเวณหน้าดิน
เช่น ปลากระเบน ปลาลิ้นหมา ปลาวัว ปลาไหลทะเล ปลาปักเป้า ปลาสิงโต ปลาเหาฉลาม ปลาฉลามกบ
7. ปลาที่อาศัยในมหาสมุทร
ในทะเลและมหาสมุทรมีปลาขนาดใหญ่หลายชนิดอาศัยอยู่
มีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่
ปลาที่มีขนาดเล็กรวมทั้งพวกที่มีสีสันสวยงามหลายพวก
มักจะอาศัยอยู่ใกล้ฝั่งหรืออยู่ในที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ มีที่กำบังและหลบภัย
อาศัยอยู่มากในช่วงความลึกไม่เกิน 1,000
เมตร จากผิวน้ำ ได้แก่ ปลาที่เรารู้จักดี เช่น ปลาโอ ปลากะพงขาว
ปลาหมอทะเล ปลาอินทรีย์ ปลากระเบน ปลาหมอทะเล ปลาฉลาม เป็นต้น
ปลาอีกหลายชนิดอาศัยอยู่ลึกลงไปเกือบถึงพื้นสมุทร ซึ่งลึกประมาณ 2,000 เมตร เช่น ปลาคอด เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)